ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อาจินต์ ปัญจพรรค์

"อาจินต์ ปัญจพรรค์" (11 ตุลาคม 2470 - ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534 จังหวัดนครปฐม เป็นผู้ประพันธ์เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ปัจจุบัน อาจินต์ ปัญจพรรค์ เขียนคอลัมน์ประจำใน มติชน และกรุงเทพธุรกิจ ล่าสุดออกหนังสือ "รายสะดวก"

"อาจินต์ ปัญจพรรค์" เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรชายของขุนปัญจพรรค์พิบูล (มาติณ ถีนิติ) อดีตนายอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และข้าหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และข้าหลวงจังหวัดนครปฐม กับนางกระแส ปัญจพรรค์ (โกมารทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ พล.ต.ท.ลัดดา ปัญจพรรค์ และวัฒนา ปัญจพรรค์

เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม เรึยนชั้นมัธยมที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจินต์รักการอ่านหนังสือ และสนใจข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดความสนใจในงานประพันธ์ เริ่มต้นจากเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 ได้เขียนเรียงความเรื่อง "โรงโขนหลวง" ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ส่งไปลงหนังสือ "สุวัณณภูมิ" หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเขียนเรื่องงานง่าย ๆ ลงในหนังสือ “ฉุยฉาย” รายสัปดาห์ และ “ชวนชื่น” รายสัปดาห์

พ.ศ. 2489 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคำขวัญสันติภาพจากองค์การสหประชาชาติด้วยข้อความว่า "สงครามคือบาป สันติภาพคือบุญ" ได้เงินมา 500 บาท

พ.ศ. 2490 ทำงานที่กระทรวงมหาดไทย ในหน่วยเฉพาะกิจสำรวจสำมะโนประชากร ทำได้ไม่นานลาออกไปเรียนกฎหมายต่อ แต่ไม่ได้จริงจัง ต่อมาไปทำงานที่เหมืองแร่ จังหวัดพังงา เขียนเรื่องสั้น “ในทะเลมีเศรษฐศาสตร์” และเขียนสารคดี "จดหมายจากเมืองใต้" ในนามปากกา “จินตเทพ” ลงในหนังสือ “โฆษณาสาร” รายเดือน

เริ่มทำงานที่เหมืองแร่เรือขุดแร่ดีบุก “กัมมุนติง” (Kammunting Tin Dredging) ในตำแหน่งฝึกงานช่างตีเหล็ก ได้ค่าจ้างวันละ 6 บาท ในขณะนั้นเขียนเรื่องสั้น "สีชมพูยังไม่จาง" ส่งให้น้องสาว วัฒนา ปัญจพรรค์ (ซึ่งกำลังเรียนที่เภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นำลงหนังสือ “มหาวิทยาลัย" ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ทำงานช่างตีเหล็กได้ไม่ถึงเดือน มีอาการไอเป็นเลือด เกิดจากการทำงานหนัก ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก

พ.ศ. 2492 ทำงานที่เหมืองกระโสม (Krasom Tin Dredging) ช่างเขียนแบบ เงินเดือน 500 ต่อเดือน และช่างทำแผนที่ เงินเดือน 800 บาท

พ.ศ. 2494 ระหว่างทำงานที่เหมืองกระโสม ชอุ่ม ปัญจพรรค์ พี่สาวเจอนิยายของน้องชายที่ห้อง จึงได้นำไปให้ศักดิ์เกษม หุตาคม เจ้าของนามปากกา “อิงอร” ช่วยพิจารณา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ "เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก" ส่งไปให้ ประหยัด ศ.นาคะนาท ลงใน “พิมพ์ไทย” วันจันทร์ มีผู้สนใจมาก จึงได้ส่งอีกเรื่อง "ผู้กล้าหาญ" ได้รับการตอบรับไม่ดีเท่า "เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก"

พ.ศ. 2496 เหมืองแร่เลิกกิจการ จึงเดินทางกลับมากรุงเทพมหานคร และเขียนนวนิยายอย่างจริงจัง เรื่อง "บ้านแร" หลายตอนจบลงใน “โฆษณาสาร” กับแปลเรื่อง "เฮนรี่ เจ.ไกเซอร์" และ "ค่ายโคบาล" ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ลงพิมพ์ใน “สตรีสาร” เป็นกลอน ไม่ค่อยได้ค่าเรื่อง รวมทั้งเรื่อง "ในเหมืองแร่มีนิยาย" 4 ตอนจบในนิตยสาร “จ.ส.ช.”

พ.ศ. 2497 เรื่องสั้น "สัญญาต่อหน้าเหล้า" ในนามปากกา “จินตเทพ” ลงพิมพ์ "สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์" ฉบับปฐมฤกษ์ ประหยัด ศ.นาคะนาท เป็นบรรณาธิการ ทำให้มีโอกาสเขียนเรื่องสั้นชุด "เหมืองแร่" ลงพิมพ์ในนิตยสาร “ชาวกรุง”

พ.ศ. 2498 ทำงานที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี[ช่อง 4]] บางขุนพรหม จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีโทรทัศน์ในวันชาติ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ทำหน้าที่เขียน "ผังรายการโทรทัศน์" ได้เงินเดือนเริ่มต้น 800 บาท

พ.ศ. 2502 ได้รับเลือกให้ไปดูงานด้านโทรทัศน์กับชาวอเมริกัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 4 เดือน

พ.ศ. 2508 ตั้งสำนักพิมพ์เพื่อพิมพ์เรื่องสั้นของตนเอง โดยเริ่มระบบเขียนเอง – พิมพ์เอง – ขายเอง ในราคาเล่มละ 5 บาท เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า โอเลี้ยง 5 แก้ว ขณะที่รวมเรื่องสั้นชุดแรก "ตะลุยเหมืองแร่" ได้รับเลือกให้ไปประชุมนักเขียนเรื่องสั้น “แอฟโฟร อาเซียน” F4 Asian ที่ประเทศสหภาพโซเวียต 1 เดือน เมื่อกลับมากรุงเทพมหานคร ปรากฏว่ารวมเรื่องสั้นชุดแรกได้จำหน่ายหมดแล้ว จึงได้พิมพ์ "ธุรกิจบนขาอ่อน" และเรื่องเกี่ยวกับเหมืองแร่ก็ยังคงทยอยออกมาเป็นระยะคือ "เหมืองน้ำหมึก" "เสียงเรียกจากเหมืองแร่" และ "สวัสดีเหมืองแร่" ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังตั้งคณะละครโทรทัศน์ของตนเอง

พ.ศ. 2511 ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าแผนกผังรายการ และหัวหน้าแผนกบริการธุรกิจ เงินเดือน 2,800 บาท และตำแหน่งบรรณาธิการนิตยสาร "ไทยโทรทัศน์" อีกเดือนละ 800 บาท

พ.ศ. 2512 ร่วมหุ้นตั้งโรงพิมพ์อักษรไทย และทำนิตยสาร "ฟ้าเมืองไทย" รายสัปดาห์ ออกฉบับปฐมฤกษ์ วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ. 2512 ในราคาเล่มละ 3 บาท เป็นที่นิยมมาก จึงได้คิดหนังสือเล่มใหม่ โดย สุพล เตชะธาดา แห่งสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น เป็นผู้ลงทุน "ฟ้าเมืองทอง" รายเดือน ฉบับปฐมฤกษ์ เมษายน พ.ศ. 2519 ประสบผลสำเร็จ จึงออก "ฟ้านารี" รายเดือนให้สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นอีกหนึ่งฉบับ มีศรีเฉลิม สุขประยูร เป็นบรรณาธิการ พิมพ์ได้ไม่นานก็เลิก ภายหลังทำ "ฟ้าอาชีพ" รายเดือนอีกระยะหนึ่ง ก็หยุดทำ "ฟ้าเมืองทอง" ส่วน "ฟ้าเมืองไทย" มาสิ้นสุดตอน ตุลาคม พ.ศ. 2531 ผู้อ่านแสดงความรู้สึงเสียดาย จึงตัดสินใจทำนิตยสาร "ฟ้า" รายเดือน ฉบับปฐมฤกษ์ มกราคม พ.ศ. 2532 ผลิตและจำหน่าย 3 ปีก็ยุติลง ตุลาคม พ.ศ. 2543 ตลอดเวลาได้สร้างนักเขียนรุ่นใหม่ให้โด่งดังเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังสนใจในเรื่องการแต่งเพลงเป็นงานอดิเรก เพลงที่ได้รับความนิยม เช่น เพลงประกอบละคร "สวัสดีบางกอก" และ "อย่าเกลียดบางกอก" เนื้อเพลง "มาร์ชลูกหนี้" และ "อาณาจักรผี ๆ" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "เงิน เงิน เงิน" และ "แม่นาคพระนคร" "จดหมายรักจากเมียเช่า" เนื้อเพลงในชุด "ปริญญาชาวนา" ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406